วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภูเก็ตปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำอีก 7 บาท

นายสุทธิพงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า เมื่อวันที่25 ธ.ค.ที่ผ่านมา  นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 17 ได้แถลงผลการประชุมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2553 โดยที่ประชุมมีความเห็นว่าปัจจุบันลูกจ้างได้รับผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลง ราคาน้ำมันมีการปรับราคาลดลงเป็นระยะๆประกอบกับรัฐบาลมีมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนได้แก่ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่ารถไฟชั้น 3 ค่ารถโดยสารประจำทาง และตรึงราคาก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)(ได้ขยายเวลาต่อไปอีก 3 เดือน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2553 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552) ซึ่งทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในส่วนนี้ลดลงในระดับหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีพของ ผู้ใช้แรงงานยังคงมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ค่าพาหนะและการขนส่ง และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล

ดังนั้น เพื่อรักษาอำนาจซื้อของแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือที่เริ่มเข้าทำงานใหม่ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในแต่ละวัน จึงมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในอัตรา 1 - 8 บาท จำนวน 71 จังหวัด และอีก 5 จังหวัด มีมติให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้ในอัตราเดิม ตามที่คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดเสนอไม่ปรับ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 มีรายละเอียดดังนี้

จังหวัดที่ไม่การปรับ 5 จังหวัด คือ
1. แม่ฮ่องสอน (151)

2. สุโขทัย (153)
3. เพชรบูรณ์ (155)
4. เชียงราย (157)
5. อุทัยธานี (158)

จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มขึ้น 1 บาทมี  7 จังหวัด คือ

1. น่าน (จาก 151 เป็น 152)
2. พะเยา (จาก 150 เป็น 151)
3. แพร่ (จาก 150 เป็น 151)
4. พิษณุ (จาก 152 เป็น 153)
5. อุตรดิษถ์ (จาก 152 เป็น 153)
6. พิจิตร (จาก 150 เป็น 151)
7. เลย (จาก 162 เป็น 163)

จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มขึ้น 2 บาทมี 20 จังหวัด คือ
1. ลำปาง (จาก 154 เป็น 156)
2. ตาก (จาก 151 เป็น 153)
3. กำแพงเพชร (จาก 156 เป็น 158)
4. หนองคาย (จาก 157 เป็น 159)
5. อุดรธานี (จาก 1657 เป็น 159)
6. หนองบัวลำภู (จาก 154 เป็น 156)
7. นครพนม (จาก 153 เป็น 155)
8. มุกดาหาร (จาก 153 เป็น 155)
9. สกลนคร (จาก 155 เป็น 157)
10. กาฬสินธุ์ (จาก 155 เป็น 157)
11. สุรินทร์ (จาก 151 เป็น 153)
12. บุรีรัมย์ (จาก 155 เป็น 157)
13. อำนาจเจริญ (จาก 153 เป็น 155)
14. ศรีสะเกษ (จาก 150 เป็น 152)
15. ยโสธร (จาก 155 เป็น 157)
16. ชุมพร (จาก 158 เป็น 160)
17. นนทบุรี (จาก 203 เป็น 205)
18. ปทุมธานี (จาก 203 เป็น 205)
19. นครปฐม (จาก 203 เป็น 205)
20. สมัทรสาคร (จาก 203 เป็น 205)

จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทมี 11 จังหวัด คือ
1. เชียงใหม่ (จาก 168 เป็น 171)
2. นครสวรรค์ (จาก 155 เป็น 158)
3. ราชบุรี (จาก 164 เป็น 167)
4. สมุทรสงคราม (จาก 160 เป็น 163)
5. ร้อยเอ็ด (จาก 154 เป็น 157)
6. ขอนแก่น (จาก 154 เป็น 157)
7. มหาสารคาม (จาก 151 เป็น 154)
8. นครราชสีมา (จาก 170 เป็น 173)
9. สระแก้ว (จาก 160 เป็น 163)
10. กรุงเทพมหานคร (จาก 203 เป็น 206)
11. สมุทรปราการ (จาก 203เป็น 206)

จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มขึ้น 4 บาทมี 20 จังหวัด คือ
1. ลำพูน (จาก 156 เป็น 160)
2. นครนายก (จาก 156 เป็น 160)
3. ชลบุรี (จาก 180 เป็น 184)
4. จันทบุรี (จาก 163 เป็น 167)
5. ตราด (จาก 156 เป็น 160)
6. ชัยนาท (จาก 154 เป็น 158)
7. สิงห์บุรี (จาก 161 เป็น 165)
8. อ่างทอง (จาก 161 เป็น 165)
9. กาญจนบุรี (จาก 165 เป็น 169)
10. สุพรรณบุรี (จาก 154 เป็น 158)
11. เพชรบุรี (จาก 164 เป็น 168)
12. ประจวบคีรีขันธ์ (จาก 160 เป็น 164)
13. ชัยภูมิ (จาก 152 เป็น 156)
14. ระนอง (จาก 169 เป็น 173)
15. สุราษฎร์ธานี (จาก 155 เป็น 159)
16. นครศรีธรรมราช (จาก 155 เป็น 159)
17. พัทลุง (จาก 155 เป็น 159)
18. สงขลา (จาก 157 เป็น 161)
19. สตูล (จาก 155 เป็น 159)
20. ปัตตานี (จาก 155 เป็น 159)

จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มขึ้น 5 บาทมี 6 จังหวัด คือ
1. ระยอง (จาก 173 เป็น 178)
2. สระบุรี (จาก 179 เป็น 184)
3. พังงา (จาก 168 เป็น 173)
4. กระบี่ (จาก 165 เป็น 170)
5. ตรัง (จาก 157 เป็น 162)
6. ยะลา (จาก 155 เป็น 160)

จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มขึ้น 6 บาทมี 1 จังหวัด คือ
1. อุบลราชธานี (จาก 154 เป็น 160)

จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มขึ้น 7 บาทมี 5 จังหวัด คือ
1. ฉะเชิงเทรา (จาก 173 เป็น 180)
2. ปราจีนบุรี (จาก 163 เป็น 170)
3. ลพบุรี (จาก 163 เป็น 170)
4. นราธิวาส (จาก 153 เป็น 160)
5. ภูเก็ต (จาก 197 เป็น 204)

จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มขึ้น 8 บาทมี 1 จังหวัด คือ
1. พระนครศรีอยุธยา (จาก 173 เป็น 181)

เมื่อคณะกรรมการค่าจ้างมีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2553 แล้ว กระทรวงแรงงานจะดำเนินการจัดทำประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 3) แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

นายสมชาย กล่าวต่อไปว่า การประชุมพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ได้มีการประชุมกันด้วยหลักเหตุผล ทั้งนี้องค์ประกอบในการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้างโดยยึดหลัก 3 กลุ่มคือ กลุ่มความต้องการของลูกจ้าง ความสามารถในการจ่ายของนายจ้างและกลุ่มความเหมาะสม ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐที่เป็นคณะกรรมการเข้าประชุมในวันนี้ประกอบด้วย กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานโดยการขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่ 2553 ให้แก่แรงงานไทย

สำหรับจังหวัดภูเก็ต คณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดได้เสนอให้ขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจำนวน 9 บาท แต่คณะกรรมการค่าจ้างกลางได้พิจารณาด้วยหลักการและเหตุผลแล้ว เห็นควรให้ขึ้นอัตราค่าจ้างเพียง 7 บาท จาก 197 บาท เป็น 204 บาท ...

Posted by : ทีมข่าวภูเก็ตอีนิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น