วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
"บิ๊กบัง"เชื่อหลังตัดสินคดียึดทรัพย์ไม่รุนแรง
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (13 ก.พ.) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่ จ.ภูเก็ต เกี่ยวกัสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ว่า เป็นวิวัฒนาการทางการเมืองของไทย เนื่องจากประเทศที่เป็นประชาธิปไตยผ่านวิกฤตต่างๆ มาก่อนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตคอรัปชั่น เผด็จการ ชนชั้น นายทุนชาติ ก่อนที่จะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ซึ่งในเรื่องของคอรัปชั่นนั้นต้องเริ่มจากฐานประชาชนที่จะต้องรู้ว่าผู้ที่ตนเลือกนั้นมีพฤติกรรมเป็นอย่างไร จากนั้นดูว่าใครเป็นผู้ปกครองซึ่งจะต้องจัดระบบการแก้ปัญหาคอรัปชั่นให้ได้ซึ่งเชื่อว่ามีวิธีการดำเนินการอยู่
พลเอกสนธิ กล่าวอีกว่า เรื่องคดีของอดีตนายกรัฐมนตรีที่จะมีการตัดสินในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นั้นก็ว่ากันไปตามกระบวนการกฎหมาย ซึ่งเชื่อว่าหากรัฐบาลใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างแท้จริง อะไรผิดถูกก็ว่ากันตามนั้น หากทำเช่นนั้นแล้วหากเกิดอะไรขึ้นมาตรการทางกฎหมายก็จะแก้ไขได้หมด ส่วนกรณีที่มีความไม่เชื่อมั่นในเรื่องของกระบวนการ หรือมีการมองว่าเป็น 2 มาตรฐาน ส่วนตัวมองว่าในเรื่องความเป็นธรรมนั้นผู้เสียผลประโยชน์ก็จะมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เรื่องนี้อยู่ที่ใจตัวเองว่าจะยอมรับความเป็นธรรมที่มีการสมมติขึ้นมาหรือไม่อย่างไร หากให้เกียรติให้สิทธิเขาไปแล้วก็ต้องยอมรับการตัดสินใจของเขา โดยใช้ตัวบทกฎหมายในการพิจารณา ปรากฎเช่นไรก็ต้องยอมรับ
"หลังการตัดสินคดียึดทรัพย์คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรรุนแรง หากรัฐบาลใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างแท้จริง ทุกอย่างก็จะจบ มองแล้วว่าสถานการณ์ทุกอย่างไม่น่าจะรุนแรงอะไร ซึ่งมาตรการของรัฐบาลที่ดำเนินการอยู่นั้นก็ถือว่าโอเคอยู่ ส่วนกระแสการปฎิวัติต้องบอกว่ากระแสคือกระแส ซึ่งกระแสที่เกิดขึ้นนั้นมีผลกระทบหลายๆ อย่าง ซึ่งต้องถามว่ามีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ยืนยันว่าการปฎิวัตินั้นใครจะเป็นผู้ปฎิวัติจะต้องดูภาวะสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในยุคนี้หากประชาชนไม่เห็นด้วยใครปฎิวัติก็จะเกิดปัญหาซึ่งเป็นเหมือนกันทั้งโลกไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย หากจะทำก็ต้องมีประชาชนร่วมมือด้วย"
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรรมนูญ พลเอกสนธิ กล่าวว่า ตนไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ แต่ความเป็นจริงรัฐธรรมนูญนั้นสามารถแก้ไขได้ เมื่อผ่านไประยะหนึ่งต้องมาเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย เมื่อเวลาเปลี่ยนสถานการณ์เปลี่ยนภาวะสังคมเปลี่ยนก็สามารถแก้ไขเพื่อให้เกิดความเหมาะสมได้ แต่ในการแก้ไขนั้นคนในสภาฯ เป็นผู้แก้ไข วึ่งจะต้องฟังเสียงของประชาชนด้วย เนื่องจาก ส.ส.ในสภาฯ เป็นตัวแทนของประชาชนไม่ใช่เอาความคิดตัวเองเป็นหลัก ซึ่งนั้นไม่มช่ระบบประชาธิปไตย ต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่คิดอย่างไร ประเทศเรามีช่องว่างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนมีน้อยเกินไป หากภาคประชาชนมีบทบาทมากกว่านี้ก็จะเป็นผู้กำหนดวิถีชีวิตของประเทศได้ จำเป็นที่สื่อจะต้องปลุกกระแสประชาชนให้มีส่วนร่วมมากขึ้น ...
Posted by : ทีมข่าวภูเก็ตอีนิวส์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น